top of page

เปรียบเทียบพื้นขัดเงา VS พื้นอีพ็อกซี่ ความแตกต่างที่คุณต้องรู้





‘ในความเหมือนมีความต่าง ในความต่างมีความคล้าย’ ในกลุ่มงานพื้นมันเงา พื้นระบบ Polishing และ Epoxy ถือว่าได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง แต่หลายคนยังสับสนและเข้าใจผิดอยู่ว่าทั้ง 2 แบบนั้นเหมือนกัน ซึ่งความจริงแล้วพื้นขัดเงากับพื้นอีพ็อกซี่มีข้อแตกต่างกันอยู่อย่างชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องคุณสมบัติและขั้นตอนการทำ


ข้อดีที่ต่างกัน ตรงกับความต้องการใช้งานพื้นของคุณหรือไม่ แล้วราคาขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง ?







พื้นคอนกรีตขัดเงา (Polishing Concrete)


คือพื้นคอนกรีตที่เกิดจากระบบการขัดเงาพื้นด้วยเทคโนโลยีเครื่องขัดเงาคอนกรีตกำลังสูง ขั้นตอนทำพื้นขัดเงาทำได้โดยการขัดเปิดหน้าผิวคอนกรีตเดิม ใช้น้ำยาลิเธียมช่วยปรับความแกร่งของหน้าผิว ขัดปรับสภาพพื้นคอนกรีตเก่าให้เกิดความเรียบเนียน เป็นการขัดลึกถึงโครงสร้างด้านใน ซึ่งการขัดเงาพื้นคอนกรีตในแต่ละระดับจะใช้ใบขัดต่างกันไปตามลำดับเบอร์ ตามชนิดของใบขัดที่เหมาะสมกับแต่ละขั้นตอน เพื่อเปลี่ยนเกร็ดอนุภาคของพื้นผิวและสะท้อนเป็นความเงางาม







พื้นขัดเงา คุณสมบัติเด่นคือ ความสวยเรียบเนียนไร้รอยต่อ เงางาม แข็งแกร่งทนทานอย่างมากต่อการใช้งานหนัก เพราะสามารถทนรอยขูดขีด รองรับแรงกระแทกได้ ทนกรด - ด่าง ทนชื้น ทนน้ำได้ไม่บวมไม่หลุดร่อน ไม่เป็นตะไคร่ – เชื้อรา ไม่ลื่น ทำความสะอาดง่าย ดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก ทนต่ออุณหภูมิที่เกิดการเปลี่ยนแปลงฉับพลัน ทนแสงแดด ทน UV เหมาะสมต่อการใช้งานพื้นในอาคารและนอกอาคาร อายุการใช้งานยาวนานมากกว่า 10 ปี (ตามโครงสร้างอาคาร)







พื้นอีพ็อกซี่ (Epoxy Coating)

คือพื้นมันเงาที่เกิดจากระบบการเคลือบปิดผิวเดิม (Coating) ด้วยการใช้น้ำยาหรือสีเคลือบอีพ็อกซี่ ซึ่งโดยทั่วไปพื้น Epoxy แบ่งได้หลายประเภทตามการใช้งาน และ ระดับความความแข็งแรง ขั้นตอนทำพื้นอีพ็อกซี่ทำได้โดยจำเป็นต้องผสมน้ำยาส่วน A และ B ให้เข้ากัน มีอัตราส่วนผสมที่ต่างกันไปตามชนิดของงานอีพ็อกซี่ ซึ่งไม่ได้มีแค่งานพื้น เพราะมีระบบอีพ็อกซี่ เรซิ่น งานเฟอร์นิเจอร์ด้วยเช่นกัน







พื้น epoxy คุณสมบัติเด่นคือความสวยเรียบเนียนไร้รอยต่อ มันเงา พร้อมสีสันที่สดใส ไม่มีรูพรุนแบบ 100% ทนกรด - ด่าง ทนชื้นได้ ไม่เป็นเชื้อรา มีความยืดหยุ่นสูง ทำความสะอาดง่าย แต่หลุดร่อนง่ายเมื่อเปียกน้ำ ไม่ทนต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน ไม่ทนต่อแสงแดด UV จึงไม่เหมาะกับงานภายนอก และเป็นพื้นระบบเดียวที่อยู่ในสเปคซึ่งผ่านการรับรองในระบบมาตรฐาน GMP







สรุปความแตกต่างที่ชัดเจนของพื้นขัดเงา และ พื้นอีพ็อกซี่


  • พื้นขัดเงาเป็นงานสวยเรียบแบบดิบ แต่ พื้นอีพ็อกซี่เป็นงานสวยเรียบแบบสะอาดตา

  • พื้นขัดเงาแข็งแกร่งทนทานต่อการใช้งานหนัก รับแรงกระแทก ทนรอยขูดขีดได้ดี แต่ พื้นอีพ็อกซี่ไม่ ทนต่อการใช้งานหนัก ขูดขีดเป็นรอยง่าย

  • พื้นอีพ็อกซี่ทนต่อเชื้อแบคทีเรีย มากกว่าพื้นขัดเงา

  • พื้นขัดเงาไม่บวม ไม่หลุดร่อน เพราะเป็นการขัดปรับลึกในระดับชั้นผิวคอนกรีต แต่ พื้นอีพ็อกซี่เป็น งานเคลือบปิดผิวสนิทด้านบน หากพื้นเปียก หรือชั้นผิวปูนด้านในมีความชื้น ทำให้พื้นบวม พอง หลุดร่อนได้

  • พื้นขัดเงาผิวไม่ลื่น แต่ พื้นอีพ็อกซี่ผิวจะลื่นขึ้นเมื่อเปียกน้ำ





  • พื้นขัดเงาทนต่อแสงแดด UV ทนต่ออุณหภูมิเปลี่ยนฉับพลัน แต่ พื้นอีพ็อกซี่ไม่ทนต่อแสงแดด UV และอุณหภูมิที่เปลี่ยนฉับพลัน

  • พื้นขัดเงาเหมาะกับทั้งงานภายในและภายนอก แต่ พื้นอีพ็อกซี่เหมาะกับงานภายใน ไม่เหมาะต่อ งานภายนอก

  • พื้นขัดเงากำหนดเวลาดำเนินงานได้ตามความต้องการ แต่ พื้นอีพ็อกซี่จำเป็นต้องจบงานในเวลา ของการผสมน้ำยาครั้งต่อครั้ง

  • พื้นอีพ็อกซี่เมื่อใช้งานสักระยะจะเริ่มด้านและหมดความมันเงา






  • ทั้งพื้นขัดเงาและพื้นอีพ็อกซี่ ไม่มีรูพรุน และลดฝุ่นละอองจับตัว

  • พื้นขัดเงาหัวใจหลักที่ส่งผลต่อคุณภาพ คือการตรวจความเก่า - ใหม่ของปูน การเลือกใบขัด และ การปรับระดับเครื่องให้เหมาะสมกับงาน

  • พื้นอีพ็อกซี่หัวใจหลักที่ส่งผลต่อคุณภาพ คือการตรวจปูนที่ละเอียดมาก การเลือกเกรดน้ำยา สูตร การผสมน้ำยา ทักษะความรู้เฉพาะของช่างด้านเคมี

  • พื้นขัดเงาและพื้นอีพ็อกซี่มีอายุการใช้งานนานกว่า 10 ปีได้ โดยพื้นอีพ็อกซี่ต้องระวังเรื่องความชื้น เป็นพิเศษ






พื้นขัดเงา ราคา ขึ้นอยู่กับปัจจัย ได้แก่


- ขนาดพื้นที่

- สภาพปูนเดิม เช่น หากพื้นเก่ามากก็ต้องขัดปรับผิวก่อน หรือหากแย่มากถึงขั้นเป็นหลุม บ่อ รอยลึก

ต่าง ๆ ก็จำเป็นต้องโป๊วปิดผิวเสียก่อนจึงสามารถขัดปรับสภาพได้

- ความแกร่งของผิวปูน กรณีปูนผิวเรียบแต่หยาบก็มีผลต่อการขัดเงา จึงจำเป็นต้องขัดปรับสภาพผิวก่อน การขัดเงาเช่นกัน อาจใช้เวลาขัดปรับถึง 3 ขั้นตอน

- ความยากง่ายของหน้างาน เช่น หากเป็นการรีโนเวทสถานที่มีสินค้า มีเครื่องจักร หรืออุปกรณ์อื่น ๆ อยู่ ก่อนแล้ว การขัดก็ต้องระมัดระวังมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันความเสียหาย ทำให้การดำเนินงานยากขึ้น ราคาจึงสูงขึ้น

- ระยะเวลางาน เช่น หากพื้นที่มากอย่าง 1000 ตร.ม. ขึ้นไป แต่ลูกค้ามีเวลางานให้ภายใน 3 วัน ผรม.ก็ต้อง เพิ่มช่างมากขึ้น เพิ่มค่าล่วงเวลา เพิ่มจำนวนเครื่องขัดเงา เหล่านี้ล้วนมีผลต่อราคา







พื้นอีพ็อกซี่ ราคา ขึ้นอยู่กับปัจจัย ได้แก่


- ขนาดพื้นที่

- ระดับความหนาของชั้นอีพ็อกซี่

- สภาพพื้นเดิม งานพื้น epoxy แยกเป็น 2 เรื่อง คืองานหน้าท็อปผิว และ งานพื้นเดิมว่าสภาพพร้อมหรือ ไม่ ต้องปรับสภาพก่อนมากน้อยแค่ไหน หลุมพระจันทร์ ความชื้น ซึ่งส่งผลให้พื้นอีพ็อกซี่บวมได้ และเป็น จุดที่ทำให้ราคาดีดจากน้อยไปมากอย่างง่ายดาย

- คุณภาพน้ำยา ซึ่งมีผลต่อการยึดเกาะ หากเป็นเกรดน้ำยาที่มีทินเนอร์เยอะเลทราคาก็ถูกลง

- ความยากง่ายของหน้างาน เช่น หากเป็นพื้นที่ต้องซอกแซกมาก ดำเนินงานได้ช้า ก็มีผลต่อราคา






ทั้งพื้น Polishing และพื้น epoxy มีจุดแข็งต่างกัน จึงไม่สามารถเปรียบเทียบในพื้นที่เดียวกันได้ สำคัญคือพื้นของสถานที่นั้นวัตถุประสงค์เพื่อใช้งานอะไร เช่น ห้องปฏิบัติการณ์ ห้องแล็บ ห้องปลอดเชื้อ ก็ควรเป็น epoxy เพราะเน้นความสะอาด พื้นทนต่อแบคทีเรีย แต่หากเป็นคลังสินค้า โกดัง ทางเดิน ก็ควรเป็น Polishing เพราะในระยะยาวทนแรงกระแทก และรอยขูดขีดได้มากกว่า





















bottom of page