
สำหรับช่างตกแต่งคอนกรีตแล้ว หากต้องการเพิ่มมูลค่าให้กับชิ้นงานจะต้องรู้จักการประยุกต์ ดัดแปลง เพิ่มเทคนิคต่าง ๆ เพื่อต่อยอดชิ้นงานเดิมอย่างสร้างสรรค์ให้ได้มากที่สุด
วันนี้เราจะพาชาว Blog ทุกคนไปชมอีกหนึ่งชิ้นงานปูนตกแต่งที่สามารถช่วยเพิ่มมูลค่างานให้ช่างตกแต่งได้ไม่ยาก นั่นคือ “ ผนังพิมพ์ลายไทย ตกแต่งทาสีทอง ”
ส่วนใหญ่แล้วงานคอนกรีตพิมพ์ลายจะเกิดสีสันสวยงามได้ ก็อยู่ในขั้นตอนการโรยสีและขัดมันก่อนการพิมพ์ลายเท่านั้น เช่นเดียวกับลวดลายไทยที่โดยมากจะใช้วิธีการวาดลายขึ้นมาซึ่งใช้เวลานาน แต่ถ้าเราสามารถผสมผสานการพิมพ์ลายคอนกรีต การสร้างลายไทย และการแต่งสีทอง ให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ ชิ้นงานจะสวย ทำง่าย และจบงานเร็วแค่ไหน ?

แม่พิมพ์ลายไทยพร้อม !

เกรียงฉาบ และปูนที่ผสมแล้วก็พร้อม !

เริ่มฉาบได้เลย ช่างของเราใช้วิธีพรมน้ำที่ผนังเล็กน้อยไว้ก่อนด้วย

ฉาบจากด้านบนไล่ลงด้านล่างแบบนี้ เป็นวิธีการฉาบปูนผนังโดยทั่วไปของช่างอยู่แล้ว เพื่อให้เก็บงานง่าย

รอบแรกเป็นการฉาบเพื่อปรับระดับ
ตรงไหนไม่เสมอกัน ก็ฉาบปรับระดับให้เสมอกันแบบนี้เลย

รอปูนในรอบแรกเซตตัว แล้วฉาบเรียบรอบที่สอง (หากฉาบรอบที่สองทันทีปูนจะย้อยตัว)
พอปูนเริ่มหมาดก็จะเริ่มลงผงลอกแบบกัน แต่ ! ช่างลืมไปว่าควรวัดระยะผนังแบ่งสัดส่วนตามขนาดของแม่พิมพ์แต่ละลายก่อน (วางแผนตำแหน่งของแต่ละลาย)

ลงผงลอกแบบได้เลย ใช้ฟองน้ำตบ ๆ ให้ทั่วแบบนี้
ตามหลักการพิมพ์ลายคอนกรีตไม่ว่าจะพื้นหรือผนัง ต้องลงผงลอกแบบทั้งผิวปูนและตัวแม่พิมพ์ด้วยทุกครั้ง เพื่อให้การพิมพ์ลายง่ายขึ้น ป้องกันเนื้อปูนติดแม่พิมพ์ ลวดลายที่พิมพ์จะได้สวยงามตามแบบ
เริ่มพิมพ์ลายได้เลย ลายแรกเราเลือกลายกนก วางแม่พิมพ์ลงไปตามตำแหน่งที่ต้องการ กดพิมพ์โดยการตบ ๆ ทุบ ๆ ด้วยแรงพอประมาณให้ทั่วด้านหลังแม่พิมพ์
ก่อนยกแม่พิมพ์ออกอย่าลืมตรวจสอบลายด้วยว่าคมชัดหรือไม่ โดยใช้มือหนึ่งข้างกดควบคุมแม่พิมพ์ไว้ และมืออีกข้างเปิดดูแต่ละด้านตามภาพ ถ้าลายคมชัดพอใจแล้วก็ยกแม่พิมพ์ออกและพิมพ์ต่อในลำดับถัดไปได้เลย

แม่พิมพ์ทรงสามเหลี่ยมก็พิมพ์สลับด้านหัวท้ายเพื่อให้ลายต่อกันได้ลงตัว

การยกแม่พิมพ์ขึ้นควรยกขึ้นตรง ๆ แบบนี้
มาที่ลายฐานไทยกันบ้าง (ต้องไม่ลืมเปิดตรวจดูความชัดเจนของลายก่อนด้วยนะ ^^)

พอใจในลายแล้วก็ยกแม่พิมพ์ออกได้เลย (อ๊ะ ๆ ยังไม่ให้ดูลายเต็ม ๆ หรอก ไว้ลุ้นกันตอนทาสีเนอะ ^^)
พิมพ์ต่อลาย ต้องระวังนะอย่าวางตำแหน่งให้เบี้ยวล่ะ
