แผ่นโฟมเป็นวัสดุอีกหนึ่งชนิดที่หลายคนเลือกนำมาประยุกต์ทำเป็นป้ายของสถานที่ต่าง ๆ เนื่องจากโฟมนั้นมีน้ำหนักเบา ทำให้เคลื่อนย้ายสะดวก ง่ายต่อการทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ โดยเฉพาะกับ PU FOAM ซึ่งถือได้ว่าเป็นโฟมประเภทที่มีเนื้อหนาแน่น ไม่ลุกลามไฟ กันความร้อนได้ดี จึงนิยมนำมาทำเป็นนวัตกรรมฉนวนกันความร้อน
แต่วันนี้เราจะพาทุกคนมาดูการทำป้ายบริษัท Concrete Décor Thailand ด้วย PU FOAM กัน และไม่ใช่แค่การตัดโฟมให้เป็นตัวอักษรชื่อบริษัท ฯ แล้วทาสีง่าย ๆ แค่นั้น เพราะมันธรรมดาไปสำหรับเรา แต่เราจะผสมผสานเทคนิคการตกแต่งพื้นผิวการพ่นแบบ Stencil เข้าไปด้วยนั่นเอง !
ทำไมต้องใช้เทคนิคการพ่นแบบ Stencil ?
ในเบื้องต้นเราขออธิบายให้ทุกคนเข้าใจก่อนว่า การตกแต่งแบบ Stencil นั้นเป็นการแต่งผิวคอนกรีตด้วยการลอกลาย (Stencil Concrete) โดยมีวัสดุ และขั้นตอนการทำหลัก ๆ คือ กระดาษลอกลาย ผงสีเคลือบแกร่ง Color Seasons และ กาวประสานคอนกรีต (Activator) ในกรณีแบบพ่นซึ่งใช้กับพื้นผิวเดิม หรือพื้นผิวเก่าที่แห้งสนิท ทำได้โดยผสมผงสีเคลือบแกร่ง และ กาวประสานคอนกรีต เข้าด้วยกัน , ติดกระดาษลอกลายไว้ที่พื้นผิว , เทสีที่ผสมแล้วใส่กาพ่นสี , พ่นทับไปทีพื้นผิวที่ติดกระดาษลอกลายไว้ , ขัดมันเล็กน้อย , รอหมาด , ดึงกระดาษลอกลายออก รอแห้งสนิทจึงใช้งานได้
แต่ในส่วนของการทำป้ายด้วย PU FOAM ของเราวันนี้ เราจะไม่ใช้กระดาษลอกลาย ใช้เพียงเทคนิคการพ่นและการผสมสี Color Seasons กับ Activator เท่านั้น ซึ่งการตกแต่งโฟมด้วยวิธี Stencil นี้มีข้อดี คือ .. .
โฟมแข็งแรง ทนทานมากขึ้นกว่าปกติ เหมาะกับการใช้งานภายนอกที่ต้องเผชิญกับแสงแดด ความร้อน ฝน ความชื้น
ให้รายละเอียดของพื้นผิวโฟมในลักษณะขรุขระแบบผิวปูนจริง
ให้ความสวยงามที่มีมิติมากกว่าแค่การทาสีทั่วไป
อุปกรณ์การทำหลัก ๆ มีอะไรบ้าง ?
สี Color Seasons สีเทา รหัส 04
กาวประสานคอนกรีต Activator
สีรองพื้น PUW 400
น้ำยาเคลือบเงา M-100
สีแดง , สีดำ (สีทาบ้านทั่วไป)
กาพ่นปูน (กาใหญ่)
กาพ่นสี (กาเล็ก)
เกรียงปาด
เกรียงขัดมัน
ลูกกลิ้งทาสี
แปรงทาสี
กระปุกแบ่งสี
ไม้ไอติม (ใช้คนสี)
ถุงมือป้องกัน
เริ่มตกแต่งป้าย PU FOAM ด้วยเทคนิคการพ่นแบบ Stencil กันเลย !
นี่คือตัวอย่างป้ายที่เราจะทำกัน ( จะออกมาเป็นแบบนี้ไหมนะ ? )
ที่เราจะทำวันนี้คือส่วนที่เป็นตัวอักษร ส่วนที่เป็นพีรมิดนั้นเราทำเสร็จกันไว้นานแล้ว ที่เห็นในภาพเป็นโฟม ( PU FOAM ) ที่เราแกะเป็นรูปเป็นร่างเรียบร้อยแล้ว พร้อมสำหรับการตกแต่งด้วยเทคนิคการพ่นแบบ Stencil
1.ผสมสี Color Season (สีเทา 04) กับกาวประสานคอนกรีต เพื่อนำมาทาตัวโฟมให้ทั่วทั้งหมดเป็นการรองพื้นไว้ก่อน เพื่อช่วยอุดร่องโฟมที่อาจไม่สม่ำเสมอ จะได้ไม่มีปัญหาทีหลังตอนพ่น รอแห้งประมาณ 20 นาที
2.ผสมผงสีเคลือบแกร่ง Color Seasons กับ กาวประสานคอนกรีต Activator ให้เข้ากัน
( อัตราส่วน 1 : 1 )
เทใส่กาพ่น โดยเราจะทยอยเทหลายครั้ง ไม่เททีเดียวจนเต็มกา เพื่อให้สามารถพ่นได้สะดวก ไม่อุดตัน
3.ลงมือพ่นให้ทั่วผิวหน้าโฟมได้เลย โดยเราค่อย ๆ หยิบออกมาพ่นทีละตัว
อย่าลืมพ่นตัวเล็กของเราด้วยนะ
หลังจากพ่นรอบแรกเสร็จแล้ว หน้าตาของผิวโฟมก็จะออกมาเป็นแบบนี้ เริ่มมีรายละเอียดแบบ Stencil แล้ว แต่ยังไม่ชัดเจน จากนี้ก็รอแห้งประมาณ 2 ชม. ( ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ )
4.เริ่มพ่นรอบที่ 2 เราพ่นซ้ำก็เพื่อให้ผิวโฟมเกิดรายละเอียดแบบ Stencil ได้ชัดเจนขึ้น และเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับตัวโฟมมากขึ้นด้วย
สังเกตได้ว่าหลังจากพ่นรอบ 2 แล้ว พื้นผิวจะมีความขรุขระอย่างเห็นได้ชัด
5.รอให้หมาดแล้วใช้เกรียงขัดแต่งผิว เทียบให้เห็นกันไปเลยว่าส่วนที่ใช้เกรียงขัดไปแล้วกับยังไม่ได้ขัดมีความแตกต่างกันแค่ไหน
ดูกันชัด ๆ จะเห็นว่าพื้นผิวเริ่มมีมิติ เกิดความสวยงามในอีกแบบหนึ่งขึ้นมาทันตา
ดูมุมสูงกับมุมตั้งดูบ้าง หลังจากนี้เราก็รอให้สีที่เราพ่นแบบ Stencil เป็นที่เรียบร้อยแล้วแห้งสนิทจึงสามารถแต่งสีสันได้ ( บอกนิดนึงว่าที่ช่างของเราเลือกใช้ผงสีเคลือบแกร่ง Color Seasons สีเทา มาพ่นนั้นก็เพื่อให้เฉดสีออกมาคล้ายกับผิวของปูนซีเมนต์ หรือ คอนกรีตที่สุด ง่ายต่อการแต่งด้วยสีอื่นต่อไป )
6.เมื่อพื้นผิวแห้งสนิทดีแล้วก็เริ่มแต่งสีสันให้เป็นตามป้ายตัวอย่างได้เลย เราเริ่มจากการทาสีขาวก่อนโดยใช้ PUW 400 ตัวนี้เป็นสีรองพื้นสีขาว เนื้อสีเข้มข้นแทรกซึมและปกปิดพื้นผิวได้ดี
เหมือนเดิมเลย อย่าลืมทาสีขาวที่ตัวอักษรเล็ก ๆ ของเราด้วยล่ะ
แผ่นใหญ่นี่ก็ต้องทารองพื้นขาวเหมือนกัน จะได้ง่ายต่อการลงสีแดงและดำต่อไป ( สองแรงแข็งขัน จะได้บรรจบกันเร็ว ๆ )
ทาสีขาวสุดท้ายแล้ววววว !
7.เมื่อสีขาวแห้งสนิทแล้ว ก็พ่นสีแดงเป็นขั้นตอนถัดมา
ดูรายละเอียดกันชัด ๆ ตอนที่ยังพ่นสีแดงไม่ทั่ว ไล่เฉดแบบนี้ก็สวยดีเนอะ ^^
แต่ตัว C ที่ต้นแบบมีสีแดงแค่ครึ่งเดียว ก่อนพ่นเราก็จัดการคลุมด้วยพลาสติกไว้ครึ่งหนึ่งก่อน แต่ต้องปิดให้สนิทนะ
พ่นเสร็จแล้วก็รอให้แห้งก่อนแล้วจึงแกะพลาสติกที่หุ้มออก
ตัว C ของเราก็จะออกมาหน้าตาเป็นแบบนี้
เมื่อสีแดงที่เราพ่นแห้งสนิทดีแล้วก็ทาสีดำลงตามตัวอักษรได้เลย ขั้นตอนนี้ช่างบอกว่าก็ต้องใจเย็น ๆ กันหน่อย เพราะต้องระวังไม่ให้สีดำเลอะออกมา
ทาสีไปฟังเพลงไปด้วย ชิลล์มากกกกก !
8.ทาสีดำจนเสร็จและรอแห้งจนสนิทดีแล้ว พ่นน้ำยาเคลือบเงาได้เลย โดยใช้น้ำยาเคลือบเงา M-100 เป็นสูตรอะคริลิคแท้ 100% เคลือบเพื่อช่วยป้องกันความชื้น เชื้อรา ปกป้องจากแสง UV สีที่เราตกแต่งจะได้อยู่ทนให้เราชื่นชมความสวยงามไปนาน ๆ พ่นเสร็จก็รอให้แห้งสนิทอย่างน้อย 24 ชม. จึงใช้งานได้
น้ำยาเคลือบแห้งแล้วลองจับตั้งดูภาพรวมทั้งหมดกัน เทียบกับตัวคนแล้วก็ใหญ่เหมือนกันนะเนี่ย ( แอบมีโมเดลหนังดังติดมาด้วย !)
ถึงเวลาที่ช่างเริ่มขนย้ายไปติดตั้งแล้ว
ต้องวัดระดับน้ำ กำหนดสัดส่วนพื้นที่ให้แน่นอนทุกครั้งก่อนติดตั้งด้วยนะ ( วันติดตั้งก็ต้องเร่งมือกันนิดนึงเพราะฝนครึ้มมาแล้ววว )
แต่รีบแค่ไหนก็ตั้งใจเต็มที่ ! (ทำงานแข่งกับเวลา ^^)
เย้ ๆ ๆ ! ในที่สุดก็ติดตั้งเสร็จแล้ว ภาพนี้ท้องฟ้าก็จะสดใสหน่อย ๆ เห็นว่าเป็นวันอบรมนวัตกรรมตกแต่งคอนกรีต รุ่น 53 ครั้งที่ผ่านด้วย สังเกตได้จากรถที่มาจอดหน้าบริษัท ฯ ผู้อบรมเริ่มมากันแล้วนั่นเอง ส่วนป้ายบริษัทของเราที่ทำจาก PU FOAM ตกแต่งด้วยเทคนิคการพ่นแบบ Stencil นั้นก็สวยสะดุดตาท้าแสงแดดกันเลยทีเดียว !